พาราไดม์ NPM กับนโยบายความเป็นนานาชาติของการอุดมศึกษาญี่ปุ่น: ความท้าทายและการตอบสนอง

Last updated: 24 ก.ค. 2561  |  1789 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พาราไดม์ NPM กับนโยบายความเป็นนานาชาติของการอุดมศึกษาญี่ปุ่น: ความท้าทายและการตอบสนอง

พาราไดม์ NPM กับนโยบายความเป็นนานาชาติของการอุดมศึกษาญี่ปุ่น: ความท้าทายและการตอบสนอง

NPM Paradigm and Internationalization Policy of Higher Education in Japan: Challenges and Responses

บทคัดย่อ

     งานวิจัยชิ้นเกิดขึ้นจากความสนใจของผู้วิจัยที่ได้ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานด้านการอุดมศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น[i]  และได้พบประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ  ประชากรวัยเด็กของญี่ปุ่นลดลงเป็นจำนวนมาก การประกาศใช้นโยบายอาเบะโนมิกส์  (Abenomics)  ความสำคัญของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก การเร่งเพิ่มความเป็นนานาชาติผ่านโครงการ Top Global University Project และความพยายามของมหาวิทยาลัยในการปรับการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่าและความสามารถในการแข่งขัน

     ผู้วิจัยจึงกำหนดคำถามสำหรับการวิจัย ดังนี้ “นโยบายความเป็นนานาชาติ (internationalization) ที่ประเทศญี่ปุ่นใช้ในด้านการอุดมศึกษาสอดคล้องกับแนวคิดภายใต้พาราไดม์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) หรือไม่ และนำมาใช้อย่างไร”  และได้ทดลองนำแนวคิดบัญญัติ 10 ประการในหนังสือ Reinventing government: How the entrepreneurial spirit is transforming the public sector ของ David Osborne และ Ted Gaebler (1992) ซึ่งเป็นแนวคิดภายใต้พาราไดม์ NPM มาใช้วิเคราะห์และอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้นโยบายความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาประเทศญี่ปุ่น

     การตอบคำถามการวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง  4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษาญี่ปุ่น ซึ่งได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีญี่ปุ่น (Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology: MEXT) มหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda University) มหาวิทยาลัยทสึคุบะ (University of the Tsukuba) และมหาวิทยาลัยโตโย (Toyo University)  โดยมีข้อค้นพบสำคัญซึ่งตอบคำถามการวิจัยคือบัญญัติ 10 ประการของ Osborne และ Gaebler (1992) ซึ่งเป็นแนวคิดภายใต้พาราไดม์ NPM สามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้นโยบายความเป็นนานาชาติของระบบอุดมศึกษาญี่ปุ่นตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ: ญี่ปุ่น การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ การอุดมศึกษา Top Global University Project

 

Abstract

     This research was started during an educational trip to Japan, visiting Ministry of Education, Culture, Sports, Science, and Technology (MEXT), and some higher education institutions. There were some interesting information such as huge decline in population aged under 18 years old, Abenomics policy, the importance of world university ranking, internationalization-driven through Top Global University Project, and universities’ attempt to improve and adapt their management for more improve efficiency, economy, and competitiveness.

     The research question was “Is Japan’s Internationalization Policy Compatible with Concepts under New Public Management (NPM) Paradigm? and How So? Then the 10 principles from Osborne and Gaebler’s book “Reinventing government: How the entrepreneurial spirit is transforming the public sector” (1992) were used to analyze and explain phenomena that happen because of Japan higher education’s internationalization policy.

     In order to answer the above research question, the qualitative research techniques were applied in the studying of four agencies with functions related to higher education, namely MEXT, Waseda University, University of the Tsukuba, and Toyo University. The findings shows that Osborne and Gaebler’s 10 principles under NPM paradigm could very well  explain phenomena occurred under Japan higher education internationalization policy during the past 10 years.

Keywords: Japan, New Public Management, Higher Education, Top Global University Project

[i] การศึกษาดูงานของโครงการนักบริหารมหาวิทยาลัยสายวิชาการระดับสูง (นบม.) รุ่นที่ 28 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ระหว่างวันที่ 18 ถึง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560   

 

พาราไดม์ NPM กับนโยบายความเป็นนานาชาติของการอุดมศึกษาญี่ปุ่น: ความท้าทายและการตอบสนอง 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้