Last updated: 24 ก.ค. 2561 | 1969 จำนวนผู้เข้าชม |
ถอดบทเรียนการบริหารจัดการสังคมสูงวัยระดับสุดยอดของภาครัฐญี่ปุ่น: มองผ่าน 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์
Lesson learned from the public management of Japan’s super-aged society: Looking through 3 paradigms in public administration
เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่ม “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” การบริหารจัดการสังคมสูงวัยของภาครัฐญี่ปุ่นจึงสร้างความสนใจให้กับประเทศเป็นจำนวนมากทั่วโลก ผู้วิจัยกำหนดคำถามวิจัยว่า “การบริหารจัดการสังคมสูงวัยระดับสุดยอดของภาครัฐญี่ปุ่นมีความสอดคล้องกับ 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ (OPM, NPM, และ NPS) หรือไม่ อย่างไร” พาราไดม์ที่หนึ่ง OPM (old public management หรือ การบริหารจัดการภาครัฐแนวเก่า) สะท้อนผ่านระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า Universal Healthcare (UC) ตั้งแต่ปีค.ศ. 1961 และการประกาศใช้กฎหมาย Welfare Act of Elder (สวัสดิการผู้สูงอายุ) ในปีค.ศ. 1963 โดยในพาราไดม์นี้ภาครัฐทำหน้าที่ “พายเรือ (rowing)” หรือเป็นผู้จัดการบริการสาธารณะโดยตรงเอง อย่างไรก็ตามในปีค.ศ. 2000 พาราไดม์ NPM (new public management หรือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่) มีการสะท้อนผ่านการประกาศใช้นโยบายการประกันการดูแลระยะยาว (Long-term Care Insurance: LTCI) โดยรัฐบาลกลางทำหน้าที่ “ถือหางเสือ (steering)” โดยการกระจายอำนาจให้รัฐบาลส่วนท้องถิ่นจ้างเหมาบริการส่วนใหญ่ให้กับหน่วยงานเอกชนและหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไร (non-profit organization) เป็นผู้จัดบริการสาธารณะในด้านการดูแลผู้สูงอายุแทน พาราไดม์ล่าสุดคือ NPS (new public service หรือการบริการสาธารณะแนวใหม่) ที่เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐชองญี่ปุ่น “ให้บริการ (serving)” โดยการอำนวยความสะดวกในการให้พลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติผ่านระบบการดูแลแบบบูรณาการที่มีชุมชนเป็นรากฐาน (Community Based Integrated Care System: CBICS) เพื่อที่จะนำเอาจิตวิญญาณของชุมชนกลับคืนสู่ชุมชน
วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา ปีที่7 ฉบับที่2
Abstract
On account of the fact that Japan is considered one of the “super-aged societies,” Japan’s management of its large aging population therefore draws many countries’ interest. In this paper, the author poses the research question “Is Japanese public management for the super-aged society compatible with the 3 paradigms (OPM, NPM, and NPS) in public administration and how?” The first is the OPM (old public management) paradigm, reflected in Japan’s Universal Healthcare (UC) from 1961 and the passage of the Welfare Act of Elder in 1963. At this time there was a clear emphasis on “rowing” or having the public sector deliver public services directly. Beginning in 2000, however, a NPM (new public management) paradigm emerges with the implementation of Long-term care insurance (LTCI), in which the central government “steering” by decentralizing its power in favor of local government, which in turn outsourced most of its services to the private sector and non-profit organizations (NPO). Japan’s newest phase of management illuminates yet another paradigm – new public service (NPS), which asks public officials to “serving” by facilitating citizen participation in forming and implementing policy through its Community Based Integrated Care System (CBICS) in order to bring a sense of community back to the community.
Keywords: Japan, super-aged society, public management, Long-term care insurance (LTCI), Community Based Integrated Care System (CBICS)
วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา ปีที่7 ฉบับที่2