Last updated: 7 ก.ค. 2561 | 1432 จำนวนผู้เข้าชม |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560: มองผ่านพาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ (Constitution of the Kingdom of Thailand 2017 in C.E.: Looking Through Paradigms in Public Administration)
ค่านิยมภายใต้พาราไดม์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือ New Public Management (NPM) ซึ่งให้ความสำคัญกับค่านิยมประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความคุ้มค่า และพาราไดม์การบริการสาธารณะแนวใหม่ หรือ New Public Service (NPS) ซึ่งให้ความสำคัญกับค่านิยมประชาธิปไตยที่เน้นการมีส่วนร่วม ความเป็นธรรม ภาระรับผิดชอบ ความเท่าเทียมกันของสังคมเป็นสิ่งที่นักรัฐประศาสนศาสตร์ทั่วโลกให้ความสำคัญเนื่องจากเป็นค่านิยมที่เข้ามาท้าทายและอาจจะเข้ามาแทนที่ค่านิยมภายใต้พาราไดม์การบริหารจัดการภาครัฐแนวเก่า หรือ Old Public Management (OPM) ซึ่งให้ความสำคัญกับค่านิยม ความแน่นอน ความมั่นคง อันเป็นรากฐานของการบริหารจัดการภารกิจของภาครัฐมาอย่างยาวนานและจะส่งผลให้หลักการ แนวคิด และวิธีปฏบัติของภาครัฐเกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้วิจัยจึงทำการวิเคราะห์บทบัญญัติที่มีมติทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นกติกาสำคัญสูงสุดในการบริหารจัดการประเทศโดยเฉพาะภาครัฐ ด้วยค่านิยมภายใต้พาราไดม์ NPM และ NPS เพื่อตอบคำถามการวิจัยว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สอดคล้องกับค่านิยมภายใต้พาราไดม์ NPM และ NPS หรือไม่ อย่างไร" รวมทั้งคาดการณ์ถึงรูปแบบการจัดบริการภาครัฐที่จะเกิดขึ้นภายใต้บทบัญญัติภายใต้ รธน. 2560 ที่จะหันมาให้ความสำคัญกับค่านิยมของพาราไดม์ NPS ที่เน้นในเรื่องของการมีส่วนร่วมจากภาคพลเมือง และค่านิยมทางประชาธิปไตย อันได้แก่ ความเป็นธรรมมาก ความเป็นธรรมทางสังคม และภาระรับผิดชอบยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้ภาครัฐและผู้ปฏิบัติหน้าที่ในภาครัฐได้ปรับตัวให้เข้ากับบริบทใหม่และความท้าทายใหม่ดังกล่าว
วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2560
Abstract
Values in New Public Management (NPM) paradigm places an emphasis on efficiency, effectiveness, and economy, while values in New Public Service (NPS) gives important key to democratic values which are participation, fairness, accountability, justice, and social equity. These sets of value are what public administrators around the world currently pay seriously attention to. This is mainly because these values have challenged and might come to replace values under Old Public Management (OPM) paradigm which places an emphasis on certainty and security which have been the roots of public administration for a long time. As a result, these new sets of value will have an effect on principles, concepts as well as practices in the public sector to change to the new direction. The researchers then analyzed statutory in public administration dimensions appeared in the Constitution of the Kingdom of Thailand 2017 (C.E.), which is the upmost important law in the management of the country, by values represented in NPM and NPS paradigms in order to answer a research question “Is the Constitution of the Kingdom of Thailand 2017 (C.E.) consistent with values represent in NPM and NPS paradigms? If so, How?” This research paper will also make a prediction on forms of public administration that will occur under these new statutory in the Constitution of the Kingdom of Thailand 2017 (C.E.) that it will likely gear toward NPS paradigm which places and emphasis on citizen participation and democratic values, which are fairness, social equity and accountability even more. This will be a guide for public sector as well as public officials to be able to adapt to these new above-mentioned contexts as well as upcoming challenges.
Keywords: Constitution of the Kingdom of Thailand 2017, Paradigms in Public Administration, New Public Management, New Public Service
วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2560