3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่3)

3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่3)

          ภาพปกหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนสร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากนักวิชาการ 4 คน และหนังสือ 2 เล่ม เมื่อครั้งศึกษาที่ Arizona State University โดยแรงบันดาลใจแรกเกิดจาก Dr.N.Joseph Cayer อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Public Administration: Social Change and Adaptive Management ว่ารัฐประศาสนศาสตร์เหมือนดั่งการใช้ชีวิตในบึงแห่งการบริหาร (Administrative Swamp) ที่มีสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและมีอันตรายคอยคุกคามรอบด้าน เช่น พื้นของบึงที่ยวบยาบ ขอบตลิ่งที่รกเรื้อไม่มั่นคงแข็งแรง จระเข้ที่คอยจ้องจัยเหยื่อ ซึ่งเปรียบได้กับการทำงานในภาครัฐ

          ผู้เขียนได้ต่อยอดความคิดนี้ด้วยแรงบันดาลใจที่สองจากหนังสือ The New Public Service: Janet V. Denhardt และ Dr. Robert B. Denhatdt อาจารย์ของผู้เขียน ด้วยการใช้กบ 3 ตัว มาเป็นตัวแทนของพาราไดม์ทั้ง 3 ของรัฐประศาสนศาสตร์อันเป็นจุดใหญ่ใจความหลักของหนังสือเล่มนี้โดยให้กบในชุดข้าราชการเป็นตัวแทนของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) และกบในชุดชาวบ้านเป็นตัวแทนของการบริหารสาธารณะแนวใหม่ (NPS) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าการใช้ชีวิตในภาครัฐนอกจากจะต้องคอยประคับประคองตัวอย่างลำบากอยู่ในบึงแหน่งการบริหารแล้ว ยังต้องเสาะหาความลงตัวของค่านิยม (Balancing Values) ที่แตกต่างกันของพาราไดม์ทั้ง 3 นี้ด้วย


          ผู้อ่านสามารถศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องราวชีวิตแห่งบึงบริหาร และพาราไดม์ทั้ง 3 ของรัฐประศาสนศาสตร์ได้จากสาระทั้ง 8 บท ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอไว้ในหนังสือเล่มนี้
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้